ประวัติสำนักวิทยบริการ
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เดิมเรียกว่า “ห้องสมุดโครงการจัดตั้งสถาบันราชภัฏศรีสะเกษ” เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2542 ณ อาคารโรงรถชั่วคราวและได้มีย้ายอาคารหลายครั้ง ดังนี้ เดือนตุลาคม พ.ศ 2542 ย้ายมาที่อาคารเรียนชั่วคราว 1 ปัจจุบันห้องประชุม 103 เดือนเมษายน พ.ศ. 2545 – พ.ศ 2548 ย้ายมาประจำอยู่ที่อาคารหอสมุดซึ่งเป็นอาคารเอกเทศขั้นเดียว อยู่ติดกับอาคารสำนักงานอธิการบดี เดือนพฤษภาคม พ.ศ 2548 ย้ายมาประจำอยู่ ณ อาคารบรรณราชนครินทร์ โดยได้เปิดให้บริการเพียงชั้นเดียว คือบริเวณชั้น 2 ขณะนั้นเรียกว่า“สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” ซึ่งจัดเป็นสัดส่วนตามงานต่างๆ ดังนี้ ประตูทางเข้าออก เคาน์เตอร์ให้บริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ มุมวารสาร มุมสืบค้นข้อมูล ซึ่งมีเครื่องให้บริการจำนวน 3 เครื่อง มุมที่จัดเรียงหนังสือ ตั้งแต่หมวด 000- 900 ไปจนถึง หนังสืออ้างอิง/วิจัย/วิทยานิพนธ์/นวนิยาย/เรื่องสั้น และหนังสือสำหรับเยาวชน และมียังห้องให้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 67 เครื่อง ห้องโสตทัศนศึกษา มีเครื่องให้บริการสื่อโสตจำนวน 20 เครื่อง
ต่อมาในปี 2551 มหาวิทยาลัยราชภัฏได้มีการเปลี่ยนโครงสร้างการบริการงานใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อเดิมจาก “สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็น “ฝ่ายวิทยบริการและสารสนเทศ” (อยู่ภายใต้งานบริการการศึกษา) วันที่ 16 พฤษภาคม 2553 ได้ขยายห้องสมุดขึ้นบริเวณ ชั้น 3 อาคารเดียวกันคืออาคารบรรณราชนครินทร์ และได้มีการเปลี่ยนแปลงห้องต่างๆ ภายใน ชั้น 2 ดังนี้ ห้องโสตทัศนศึกษาได้ดัดแปลงเป็นห้องสำหรับเด็กห้องอินเทอร์เน็ตดัดแปลงเป็นห้องสำหรับวารสาร และมุมวารสารเดิมได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นชั้นวางเอกสารตำราสำหรับ Text book ส่วนบริเวณ ชั้น 3 ได้แบ่งสัดส่วนให้มีห้องศูนย์ศรีสะเกษศึกษา ห้องเอกสารตำราวิทยานิพนธ์/วิจัย และหนังสืออ้างอิง ห้องค้นคว้าสำหรับกลุ่ม มุมให้บริการโซน Note book จัดมุมสำหรับให้บริการอินเทอร์เน็ต วันที่ 21 กันยายน 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 คณะ 1 วิทยาลัย 2 สำนักฯ ซึ่งห้องสมุดอยู่ภายใต้สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และได้เปลี่ยนแปลงชื่อหน่วยงานใหม่เป็น "กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ"และในเดือนสิงหาคม 2557 ได้มีการขยายพื้นที่ให้บริการห้องสมุดเพิ่มอีก 1 ชั้น คือ ชั้น 5 ซึ่งให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อโสตทัศนศึกษา ห้องประชุมกลุ่มย่อยห้องชมภาพยนต์มีเครื่องคอมพิวเตอร์ในการให้บริการกว่า 160 เครื่อง และในเดือนมกราคม 2560 ได้มีการขยายพื้นที่ให้บริการเพิ่มอีก 1 ชั้น คือ ชั้น 1 โดยทำการย้ายเคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ห้องสำหรับเด็ก นวนิยาย วารสารและบริการตรวจทางเข้า-ออกลงมาให้บริการในบริเวณ ชั้น 1
และในวันที่ 1 มีนาคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานใหม่จากเดิม กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ยกให้ขึ้นเป็น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี-สารสนเทศ โดยแบ่งส่วนราชการเป็นหน่วยงาน 5 งาน ดังนี้ 1) งานบริหารทั่วไป 2) งานวิทยบริการ 3) งานพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 4) งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร จนถึงปัจจุบัน
Academic resources and information technology
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหน่วยงานหรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการให้บริการทางด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีข้อมูลต่าง ๆ ให้กับชุมชนวิชาการ นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนทั่วไปเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ การวิจัย และการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบริการเช่นการให้บริการหนังสือและวารสารออนไลน์ ฐานข้อมูลวิชาการ บริการคำปรึกษาทางวิชาการ การจัดอบรมและสัมมนา เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการบริการอาจมีเช่นระบบค้นคว้าข้อมูลออนไลน์ ระบบจัดการห้องสมุดอัตโนมัติ ระบบจัดการฐานข้อมูลวารสาร และอื่น ๆ อีกมากมาย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และการวิจัยในหลากหลายสาขาวิชาต่าง ๆ ด้วยการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ต่อส่วนราชการและสังคมทั้งโลกได้อย่างแท้จริง
ตราสัญลักษณ์และความหมายประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมาย ศักยภาพ
ความหมาย ทรัพยากร
ความหมาย นวัตกรรม
ความหมาย เทคโนโลยี
ความหมาย บริการ
สีประจำสำนัก
หมายถึง สีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และเป็นสีแห่งการเรียนรู้และความสำเร็จ
หมายถึง สีแห่งการสื่อสาร การเชื่อมโยงเครือข่ายที่ไม่มีที่สิ้นสุดในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไร้พรมแดน
หมายถึง สีประจำวันพระราชสมภพ (วันเสาร์) ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งพระองค์เป็นองค์พระราชูปถัมภ์สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และทรงมีพระราชดำริให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการศึกษา การเรียนการสอน
ปรัชญา / วิสัยทัศน์ / วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง / พันธกิจ / เป้าประสงค์
“ศูนย์การเรียนรู้ ควบคู่บริการ เชี่ยวชาญนวัตกรรม ก้าวทันเทคโนโลยี”
“ศูนย์กลางการเรียนรู้ที่ทันสมัย มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านบริการเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด”
1 เพื่อเป็นแหล่งบริการสารสนเทศสำหรับการศึกษาค้นคว้าและวิจัยของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย ตลอดจนผู้สนใจ
2 เพื่อเป็นแหล่งบริการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อการเรียนการสอนและวิจัย
3 เพื่อให้บริการในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาต่างประเทศเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
5 เพื่อเป็นหน่วยงานที่ดูแลและพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อก้าวสู่ Smart University
2 สนับสนุนการใช้งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านดิจิทัล แก่นักศึกษา บุคลากร และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมกันอย่างคุ้มค่า
3 ส่งเสริม พัฒนาและบริการสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
4 พัฒนา และบริการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้สารสนเทศ และก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรที่ดี มีความคล่องตัวและรวดเร็วโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
1 โครงสร้างพื้นฐานที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีความทันสมัย รวดเร็ว ปลอดภัย เชื่อถือถือได้ สอดคล้องการเป็น Smart University
2 นักศึกษา บุคลากร มีสมรรถนะทักษะด้านดิจิทัล ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล
3 นักศึกษา บุคลากรมีขีดความสามารถด้านการเรียนรู้ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อจัดการศึกษา
4 ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศทุกรูปแบบ (Platform) และใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และบริการวิชาการ แบบมีส่วนร่วมสู่สังคม ชุมชนและท้องถิ่น
5 การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มีความพึงพอใจ ประทับใจ องค์กรต้นแบบ และยึดหลักธรรมาภิบาล